มองโกเลีย ฟุตบอลชุดใหญ่ไม่โดดเด่น แต่ทำไมเป็นขาประจำเจ้าภาพบอลเยาวชน

แทงบอลออนไลน์

มองโกเลีย ฟุตบอลชุดใหญ่ไม่โดดเด่น แต่ทำไมเป็นขาประจำเจ้าภาพบอลเยาวชน

ช้างศึกรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ต้องบินไปแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-23 ที่ประเทศมองโกเลีย เรื่องนี้นับเป็นความวุ่นวายไม่น้อย…

อาหารการกินที่แตกต่าง, สภาพอากาศติดลบ รวมถึงการเดินทางที่ยากลำบาก จนต้องจ้างเครื่องบินเช่าเหมาลำเพื่อลงจอดกลางหุบเขา และประสานงานกับเอกอัครราชทูตมองโกเลีย นี่คงทำให้ใครหลายคนคิดว่า ทำไมเราต้องไปเตะบอลที่มองโกเลีย ทั้งที่เขาไม่ใช่มหาอำนาจแห่งโลกฟุตบอล ? แต่ความจริงแล้ว มองโกเลีย เคยเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับเยาวชนชิงแชมป์เอเชียมาแล้วทุกรุ่น … แปลกใช่ไหมล่ะ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น ? 

Main Stand จะพาไปหาคำตอบ ที่สะท้อนให้เห็นแนวทางการพัฒนาฟุตบอลในภาพรวมของทวีปเอเชีย

ขาประจำเจ้าภาพบอลเยาวชน

หากผู้อ่านลองใช้เวลาสักหนึ่งนาที เพื่อนึกความสำเร็จของฟุตบอลทีมชาติมองโกเลีย เชื่อว่าคงไม่มีใครนึกออก เพราะประเทศแห่งนี้ไม่ส่งทีมฟุตบอลเข้าแข่งขันในรายการนานาชาติแม้แต่รายการเดียว ตั้งแต่ในยุค 1960s จนถึงปี 1998

การห่างหายจากวงการฟุตบอลนานเกือบ 4 ทศวรรษ ส่งผลให้ฟุตบอลมองโกเลียขาดการพัฒนาและตามหลังชาติแถวหน้าในเอเชียไปไกล พวกเขาจึงไม่เคยเข้าร่วมแข่งขันรายการระดับเมเจอร์ ทั้ง ฟุตบอลโลก, เอเชียนคัพ หรือแม้แต่ฟุตบอลถ้วยเล็กของชาติเอเชีย อย่าง เอเอฟซี ชาเลนจ์ คัพ ที่จัดการแข่งขันในช่วงปี 2006-14 มองโกเลียก็ยังไม่เคยเข้าร่วมการแข่งขันเลยแม้แต่ครั้งเดียว

เมื่อฟุตบอลชุดใหญ่ไปไม่รุ่ง ความหวังทั้งหมดของฟุตบอลมองโกเลียจึงไปอยู่ที่ชุดเยาวชน แต่ผลงานของแข้งรุ่นเยาว์ชาวมองโกเลียก็ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นรุ่น U-23, U-19 หรือ U-16 ไม่มีนักเตะมองโกเลียชุดไหนเคยผ่านเข้าสู่การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียแม้แต่ครั้งเดียว

 

ความจริงแล้ว ฟุตบอลเยาวชนมองโกเลียไม่เคยมีความพร้อม จนกระทั่งทศวรรษล่าสุด ทัวร์นาเมนต์แรกที่พวกเขาส่งทีมเข้าแข่งขันรอบคัดเลือก หลังจากปฏิเสธการเข้าร่วมมาอย่างยาวนานคือ ฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-20 เมื่อปี 2014  ก่อนตามมาด้วยการส่งทีมเยาวชนทั้ง 3 รุ่น ลงคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย ที่จัดขึ้นในปี 2016

แน่นอนว่า มองโกเลียไปไม่รอดทั้งรุ่น U-23, U-19 และ U-16 แต่อย่างน้อยพวกเขาก็ประสบความสำเร็จแรกบนเวทีฟุตบอล ด้วยการรับบทบาทเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกกลุ่ม K ของฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-16 ปี 2016 โดยผู้มาเยือนอีกสองประเทศ ถือเป็นชาติที่มีความแข็งแกร่งทางฟุตบอลและเศรษฐกิจเหนือกว่ามองโกเลียทั้งสิ้น นั่นคือ ญี่ปุ่น และ ฮ่องกง

การที่มองโกเลียถูกเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกของฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะหลังจากลองจัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์แรกแล้ว หลังจากนั้น มองโกเลียกลายเป็นขาประจำในการจัดการแข่งขันระดับนี้เสมอมา


Photo : ฟุตบอลทีมชาติไทย

สำหรับการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย ในปี 2018 มองโกเลียรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกในรุ่น U-19 และ U-16 ส่วนการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียที่จัดขึ้นในปี 2020 มองโกเลียขยับขึ้นมาเป็นเจ้าภาพในรุ่น U-23 และยังคงเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลรุ่นนี้ในการแข่งขันปี 2022 ซึ่งประเทศไทยกำลังจะเดินทางไปร่วมแข่งขัน

 

ถือเป็นเรื่องน่าประหลาดใจไม่น้อยที่ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ AFC พยายามผลักดัน มองโกเลีย ให้รับบทบาทเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย ทั้งที่ประเทศแห่งนี้ไม่เคยเข้าแข่งขันรอบสุดท้าย เมื่อบวกกับการเดินทางที่ยากลำบาก รวมถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ไม่ดีนัก จึงเกิดเป็นคำถามคาใจว่า ทำไม AFC ถึงพยายามจะผลักดันมองโกเลียขนาดนี้ ?

เพื่อยกระดับฟุตบอลเอเชีย 

การกระจายบทบาทเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลสู่ประเทศที่ไม่ประสบความสำเร็จในโลกลูกหนัง ไม่ถือเป็นเรื่องใหม่ต่อสายตาชาวโลกแต่อย่างใด เพราะตั้งแต่ปี 2010 สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ FIFA ตัดสินใจเลือกกาตาร์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 แม้ไม่เคยผ่านการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเลย

ทุกคนคงทราบดีอยู่แล้วว่า FIFA ตัดสินใจเลือกกาตาร์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ด้วยปัจจัยเรื่องเงินเป็นสำคัญ แต่เหตุผลที่ เซปป์ แบล็ตเตอร์ ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ กล่าวอ้างในขณะนั้น คือ “การให้โอกาสชาติตะวันออกกลางเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก” ไม่ใช่สิ่งที่มองข้ามไปได้

 

ใจความสำคัญที่ FIFA กำลังผลักดัน และเป็นนโยบายส่งต่อมาถึง AFC คือ “การให้โอกาสชาติขนาดเล็กรับบทบาทเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอล” ซึ่งถ้าตัดเรื่องเงินทองออกไป การกระจายเวทีการแข่งขันสู่ชาติเล็ก ๆ ย่อมส่งผลดีกว่าการผูกขาดการจัดการแข่งขันฟุตบอลกับชาติขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว

ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดตรงนี้สามารถเปรียบเทียบจากสิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยและชาติอาเซียน หากย้อนกลับไปยังการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-23 ปี 2013 เจ้าภาพที่รองรับการแข่งขันรอบคัดเลือกของโซนเอเชียตะวันออก คือ อินโดนีเซีย, สปป.ลาว และ เมียนมา ซึ่งล้วนเป็นชาติแถวหลังของฟุตบอลเอเชีย

ถัดมาในการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-23 ปี 2016 ชาติอาเซียนเหมาเป็นเจ้าภาพการแข่งขันรอบคัดเลือกถึง 4 กลุ่ม ได้แก่ ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และ สปป.ลาว ส่วนเจ้าภาพในโซนเอเชียตะวันออกอีกกลุ่ม คือ จีนไทเป หรือ ไต้หวัน ส่วนในการแข่งขันปี 2018 มี เกาหลีเหนือ, เวียดนาม และ กัมพูชา เข้ามาเป็นเจ้าภาพหน้าใหม่อีกสามชาติ

การแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-23 ทั้งสองครั้งที่เรายกตัวอย่างมา เห็นได้ชัดว่า AFC กำลังเลือกเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลในระดับนี้ จากชาติที่ “กีฬาฟุตบอลต้องการการพัฒนา” เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ฟุตบอลในโซนตะวันออกของ AFC ประกอบไปด้วยชาติจากเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถ้าเทียบความแข็งแกร่งทางฟุตบอลของสองภูมิภาค อาเซียนเป็นฝ่ายที่ตามหลัง

นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราไม่เคยเห็น จีน, ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลระดับนี้ ส่วน ไต้หวัน และ เกาหลีเหนือ ที่ถูกเลือกให้เป็นเจ้าภาพ เพราะพวกเขาคือชาติที่อ่อนที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เหตุผลเดียวกับที่ชาติอาเซียนคว้าตำแหน่งเจ้าภาพการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-23 ในช่วงปี 2013-2018 นั่นเป็นเพราะ AFC มองว่า อาเซียน เป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพที่จะผลักดันให้การแข่งขันฟุตบอลในทวีปมีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อความทัดเทียมกับชาติชั้นนำอื่น ๆ 

 

เมื่อ มองโกเลีย กลับเข้ามาสู่การแข่งขันในปี 2014 ทาง AFC จึงไม่ลังเลที่จะผลักดันพวกเขาให้รับหน้าที่จัดการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-16 ปี 2016 เพื่อที่สักวันหนึ่ง มองโกเลียจะต้องมารับหน้าที่เจ้าภาพการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-23 ในอนาคต

ทันทีที่มองโกเลียเข้ามารับบทบาทตรงนี้ในการแข่งขันปี 2020 ประเทศไทย ซึ่งเป็นมหาอำนาจแห่งอาเซียน จึงถูกเขี่ยออกไปจากการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-23 ซึ่งในครั้งนั้น ไทยเองก็ไม่ได้ประกาศตัวว่าจะขอรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ โดยอีก 4 ชาติที่จัดการแข่งขันในฝั่งตะวันออก คือ เวียดนาม, เมียนมา, กัมพูชา และ มาเลเซีย ประกอบกับการที่ไทยไม่พร้อมที่จะเสนอตัวเอง

ส่วนเจ้าภาพการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-23 ปี 2022 ของฝั่งตะวันออก ได้แก่ มองโกเลีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และ ญี่ปุ่น (ยังขาดอีกหนึ่งชาติเพราะ เกาหลีเหนือ ถอนตัว) ซึ่งการเข้ามาของญี่ปุ่นไม่ได้แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของ AFC แต่เป็นเพราะพวกเขาเพิ่งจัดโอลิมปิก เกมส์ 2020 จนมีความพร้อมที่ AFC ไม่สามารถปฏิเสธ โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 ณ ปัจจุบัน

ดังนั้นการที่ AFC เลือกสิงคโปร์และอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ แทนจะเป็นไทยหรือเวียดนาม คงเห็นชัดแล้วว่า พวกเขาตั้งใจเลือกชาติที่กีฬาฟุตบอลต้องการการพัฒนาในเอเชีย ให้เข้ามาทำหน้าที่เจ้าภาพการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-23 เพื่อใช้เป็นทางลัดในการยกระดับกีฬาฟุตบอลในภาพรวมต่อไป ซึ่งชาติเหล่านี้เองก็มีความพร้อมที่ต้องการจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ และพร้อมที่จะออกค่าใช้จ่ายในการจัดการแข่งขัน 


Photo : www.facebook.com/MongolianFootballFederation

 

นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมขุนพลช้างศึกถึงต้องนั่งเครื่องบินข้ามภูเขาเพื่อไปเตะฟุตบอลที่สนาม MFF Football Centre ในประเทศมองโกเลีย ที่มีความจุผู้ชมเพียง 5,000 คน นั่นเป็นเพราะการพัฒนาฟุตบอลจำเป็นต้องเกิดขึ้นทั้งภูมิภาค ไม่ใช่แค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง

หาก มองโกเลีย ยังไม่สามารถพิสูจน์ว่าพวกเขาจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติได้ พวกเขาย่อมไม่มีวันก้าวถึงการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติด้วยเช่นกัน การเลือกชาติที่ฟุตบอลยังตามหลังเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน จึงถือเป็นทางหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างฟุตบอลในแต่ละประเทศของ AFC

แทงบอลออนไลน์

วิเคราะห์บอลล่าสุด

ข่าวล่าสุด