บิคตอร์ ออร์ตา : ยอดนักเจรจาผู้อยู่เบื้องหลังความมหัศจรรย์ ลีดส์ ยูไนเต็ด

แทงบอลออนไลน์

บิคตอร์ ออร์ตา : ยอดนักเจรจาผู้อยู่เบื้องหลังความมหัศจรรย์ ลีดส์ ยูไนเต็ด

ลีดส์ ยูไนเต็ด กลายเป็นหนึ่งในทีมที่ถูกพูดถึงอย่างมากในฤดูกาลนี้ ด้วยสไตล์การเล่นแบบวิ่งสู้ฟัด และการทำทีมแบบไร้สตาร์ดัง แต่สามารถยึดตำแหน่งกลางตารางอย่างไม่ยากเย็น

แม้ว่าเครดิตส่วนใหญ่ จะยกให้กับ มาร์เซโล บิเอลซา กุนซือชาวอาร์เจนไตน์ ที่เข้ามาคุมทีมตั้งแต่ปี 2018 แต่ยังมีอีกคนหนึ่งที่มีส่วนร่วมกับความยอดเยี่ยมนี้ ชื่อของเขาคือ บิคตอร์ ออร์ตา ผู้อำนวยการฟุตบอลชาวสเปน 

เขาคือใคร และมีส่วนสำคัญอย่างไรกับทีมดังแห่งแคว้นยอร์คเชียร์ ร่วมค้นหาคำตอบได้ที่นี่

อดีตนักข่าว Marca 

บิคตอร์ ออร์ตา อาจจะไม่ได้เป็นชื่อที่คุ้นหูแฟนบอลมากนัก เพราะเขาเองไม่เคยเป็นนักฟุตบอลอาชีพมาก่อน เขาเป็นเพียงนักศึกษาสาขาเคมี และเริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นนักข่าวให้กับ Radio Marca และ Sky Espana


Photo : www.independent.co.uk

แต่ถึงอย่างนั้น ความคลั่งไคล้ในเกมลูกหนังของเขาไม่เคยรองใคร สิ่งนี้เป็นมาตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ เขามักจะเล่นทายชื่อนักฟุตบอลในสมุดสะสมสติกเกอร์ Panini, เก็บสะสม นิตยสารฟุตบอลอย่าง Grafico ของอาร์เจนตินา และ Placar ของบราซิล ทุกฉบับ เป็นร้อยเล่ม รวมไปถึงขั้นเรียนภาษาอิตาเลียนด้วยตัวเอง เพื่อติดตามศึกเซเรียอาของอิตาลี 

อย่างไรก็ดี จุดหักเหชีวิตของเขาก็มาถึงหลังฟุตบอลโลก 2002 เมื่อ You First Sports บริษัทเอเยนต์ สัญชาติสเปน ชวนเขาไปทำงานด้วย เดิมทีมันคือบริษัทที่ดูแลสิทธิประโยชน์ให้กับนักบาสเกตบอล แต่เนื่องจากเจ้าของอยากขยายตลาดสู่นักฟุตบอล จึงดึง ออร์ตา มาทำงานในส่วนนี้

 

และมันก็ทำให้โลกฟุตบอลของ ออร์ตา เปิดกว้างมากขึ้น แม้ว่าการเป็นนักข่าว ทำให้เขารู้เรื่องราวเบื้องหลังของวงการนี้ แต่การเป็นเอเยนต์ ทำให้เขาได้สัมผัสกับตื้นลึกหนาบางของวงการฟุตบอลมากยิ่งขึ้น 

ก่อนที่มันจะกลายเป็นสะพาน พาเขาไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานของสโมสรฟุตบอล 

มันเป็นวันหนึ่งที่ ออร์ตา ถูกเชิญไปกินข้าวกับ คาร์ลอส ซัวเรซ ประธานสโมสร ราโย บาเยกาโน ที่ตอนนั้นเล่นอยู่ในลาลีกา 2 แต่เรื่องที่คุยในวันนั้นกลับไม่ใช่เรื่องนักเตะ แต่เป็นการทาบทามเขาไปเป็นหนึ่งในทีมงานของสโมสร 

“ตอนแรกผมคิดว่าเขาจะคุยเรื่องนักเตะ เรื่องการซื้อขาย” ออร์ตากล่าวกับ The Athletic 

แน่นอนว่า ออร์ตา ไม่ปฎิเสธโอกาสนี้ ทำให้เขาได้กลายเป็นหนึ่งในทีมแมวมองของ บาเยกาโน และได้ร่วมงานกับ โฆเซ หลุยส์ คามิเนโร อดีตกองกลางทีมชาติสเปน ชุดฟุตบอลโลก 1994

 


Photo : scoutedhub.com

“มันเป็นเรื่องที่ดีกับผมมากจริง ๆ คามิเนโร ช่วยให้ผมได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างเกี่ยวกับฟุตบอล และสิ่งที่ผมไม่เคยรู้มาก่อน” ผู้อำนวยการฟุตบอลของ ลีดส์ ย้อนความหลัง 

ออร์ตา ได้นำประสบการณ์และความรู้สมัยที่เอเยนต์ เข้ามาช่วยทีม จนกระทั่งในปี 2006 เขาได้ย้ายไปอยู่กับสโมสรที่ใหญ่ขึ้นอย่าง เซบียา ทีมดังในลีกสูงสุดของสเปน 

และที่สโมสรแห่งนี้ คือสถานที่ที่ทำให้เขาได้ก้าวขาเข้ามาอยู่ในเส้นทางของผู้อำนวยการกีฬา หลังได้รู้จักกับชายที่ชื่อว่า รามอน โรดริเกซ เบอร์เดโย หรือที่รู้จักในชื่อ “มอนชิ”

ศิษย์เอกยอดนักเจรจา 

มอนชิ ถือเป็นหนึ่งในลูกหม้อของสโมสร เซบียา เขาเริ่มต้นค้าแข้งกับทีมดังแห่งแคว้นอันดาลูเซียมาตั้งแต่ปี 1988 และเล่นให้กับสโมสรแห่งนี้แค่ทีมเดียว ก่อนจะแขวนสตั๊ดไปในปี 1999 ด้วยวัยเพียง 30 ปี 


Photo : www.estadiodeportivo.com

หนึ่งปีหลังจากนั้น เขาได้รับตำแหน่งสำคัญ เมื่อถูกแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการฟุตบอลของ เซบียา ซึ่งเป็นปีที่ทีมตกชั้นลงไปเล่นในลาลีกา 2 ก่อนที่นโยบายการซื้อขายนักเตะของเขาจะทำให้ เซบียา ทำกำไรได้อย่างมหาศาล 

คาดกันว่าตลอดระยะเวลาที่ มอนชิ อยู่ในตำแหน่งนี้ เซบียา มีกำไรจากการซื้อขายนักเตะรวมเป็นเงินสูงถึง 150 ล้านปอนด์ ในขณะที่ผลงานในสนามก็ยังยอดเยี่ยม เมื่อสามารถคว้าแชมป์ ยูโรปาลีก (หรือ ยูฟ่าคัพ ในอดีต) หลายสมัย รวมถึงทีมเคยขึ้นไปติดท็อป 4 ของ ลาลีกา ได้ไปเล่นในศึก ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก ก็หลายครั้ง

ทำให้การได้มาเป็นผู้ช่วยของ มอนชิ กลายเป็นโบนัส ออร์ตา นอกจากจะได้ทำงานในสโมสรใหญ่แล้ว ยังมีโอกาสเรียนรู้กลยุทธ์ในการซื้อขายจากยอดนักเจรจาโดยตรง

 

เขาใช้เวลากว่า 10 ปี เพาะบ่มประสบการณ์ และเสริมสร้างทักษะนักเจรจา โดยมี มอนชิ เป็นเหมือนอาจารย์ ก่อนจะตัดสินใจอำลาทีม และย้ายไปหาความท้าทายในลีกกาตาร์ ต่อด้วย เซนิต เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ในรัสเซีย กลับมา เอลเช ที่สเปน และย้ายข้ามฟากมาเกาะอังกฤษกับ มิดเดิลสโบรช์ และ ลีดส์ ยูไนเต็ด ในเวลาต่อมา  

หลังพ้นจากร่มเงาของ มอนชิ ออร์ตาก็เริ่มสถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้อำนวยการกีฬาฝีมือดีแห่งวงการ ทั้งความแม่นยำในการเฟ้นหานักเตะโนเนมมาปั้น หรือการทำให้ดีลที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้กลายเป็นความจริง 

ไม่ว่าจะเป็นการพา ฮัลค์ ที่ตอนนั้นถือเป็นหนึ่งในแข้งเนื้อหอมคนหนึ่งของยุโรป ไปเล่นที่รัสเซีย, คว้าตัวนักเตะอย่าง บิคตอร์ บัลเดส และ อัลบาโร เนเกรโด มาเล่นให้ โบโร หรือมีส่วนร่วมในการซื้อนักเตะมีแววที่จะเก่งอย่าง อดามา ตราโอเร หรือ แพทริค แบมฟอร์ด 

แต่ดีลที่ถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงมากที่สุดของเขา คือการเจรจาพาตัว มาร์เซโล บิเอลซา หนึ่งในยอดกุนซือดังของโลก มาคุมทีมที่ไม่ได้เล่นในลีกสูงสุดในขณะนั้นอย่าง ลีดส์ ยูไนเต็ด ได้สำเร็จ ก่อนที่กุนซือชาวอาร์เจนไตน์ จะพาลีดส์สร้างปรากฏการณ์อยู่ในขณะนี้ 


Photo : www.estadiodeportivo.com

 

“เราพบว่าในประวัติศาสตร์ของ ลีดส์ ยูไนเต็ด เราต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่เป็นการปฏิวัติจริง ๆ เราต้องลงทุนกับเฮดโค้ช เพราะสโมสรนี้มีความกดดันมหาศาลไหลเวียนอยู่ และเราจำเป็นต้องมีคนที่ลักษณะเฉพาะตัวมาจัดการ เราต้องสร้างสโมสรจากอะไรแบบนั้น” ออร์ตาอกล่าวกับ Tranning Ground Guru 

“อันเดรีย (ราดริซซานี – ประธานสโมสร) ถามผมว่า ถ้านายมีเงิน และเลือกโค้ชได้ นายจะเลือกใคร ผมบอกไปว่า ต้องเป็นเขา (บิเอลซา) และเขาก็บอกให้โทรหาเขา มันคือความจริง” 

“ก่อนหน้านี้ ผมเคยพยายามที่จะดึงตัว มาร์เซโล บิเอลซา มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกที่ เซบียา อีกครั้งที่ เซนิต” 

“ผมนัดเจอกับ มาร์เซโล พร้อม อันเดรีย ที่บัวโนสไอเรส หลังจากนั้นก็นัดเจอเขาพร้อมกับ แองกุส (คินเนียร์ – ซีอีโอสโมสร) อันเดรีย ประทับใจมาก สำหรับผมไม่ได้แปลกใจ เพราะว่าผมรู้จักกับวิธีการทำงานของ มาร์เซโล” 

“สุดท้ายมันก็กลายเป็นจริง และเปลี่ยนสโมสรไปอย่างหมดสิ้น รวมถึงเพิ่มมาตรฐานให้กับเรา”

ว่าแต่อะไรคือกุญแจในความสำเร็จของเขา ?

ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กันและกัน 

แม้ว่าตำแหน่งผู้อำนวยการกีฬา จะเป็นสิ่งที่อยู่ในวงการฟุตบอลมาหลายสิบปี แต่สำหรับอังกฤษ มันเป็นตำแหน่งที่พวกเขาเพิ่งเปิดใจรับได้ไม่นาน เนื่องจากธรรมเนียมของวงการลูกหนังประเทศนี้ ไม่เห็นด้วยที่จะถ่ายโอนอำนาจนี้ของ “ผู้จัดการทีม” ไปให้คนที่ไม่เคยค้าแข้งมาก่อน 

แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป ตำแหน่งนี้เริ่มกลายเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เมื่อความเป็นจริงที่ว่าผู้จัดการทีมมีงานที่ต้องทำมากเกินไปเป็นสิ่งที่หลายคนเห็นด้วย ทำให้ปัจจุบันหลายทีมในลีกอังกฤษโดยเฉพาะในลีกสูงสุด เริ่มจ้างผู้อำนวยการกีฬาเข้ามาช่วยงาน


Photo : www.yorkshireeveningpost.co.uk

“ผมคิดว่าเกือบทั้งหมดยืนยันว่าต้องมี (ผู้อำนวยการกีฬา) พวกเขาต้องการมัน มันมีงานต้องทำมากเกินไปสำหรับพวกเขา” ออร์ตา ให้ความเห็นกับ The Athletic 

นั่นทำให้เขาต้องทำงานอย่างหนัก ทดแทนในสิ่งที่ผู้จัดการทีมในอังกฤษเคยทำมาก่อน โดยเฉพาะการทำงานกับ บิเอลซา ที่ขึ้นชื่อในความสมบูรณ์แบบ และสิ่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ ก็คือการทำงานอย่างเข้าขากับเฮดโค้ช 

“สิ่งสำคัญที่สุดระหว่างเฮดโค้ชและผู้อำนวยการสโมสรคือการทำงานร่วมกัน ถ้าทำงานร่วมกันไม่ได้ มันก็ไม่เวิร์ค” ออร์ตากล่าวกับ The Athletic 

ออร์ตา คุยกับ บิเอลซา ทุกวัน แถมยิ่งทวีคูณขึ้นไปหากเป็นช่วงพักเบรกฤดูร้อน และแม้ว่าเขาจะไม่มีออฟฟิศที่สนามซ้อมของ ลีดส์ แต่ผู้อำนวยการกีฬาชาวสเปน ก็จะมาที่นี่ทุกสองสัปดาห์ และพร้อมเสมอหากบิเอลซาเรียกตัว 

“ผมคุยกับเขาทุกวัน ในช่วงหน้าร้อน 2-3 เท่า แบบต่อหน้า 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์” ออร์ตา กล่าวกับ Tranning Ground Guru

“การสรรหานักเตะมันไม่ใช่แค่การประชุมกับเฮดโค้ชตอนเดือนมีนาคมหรือพฤษภาคม ‘ผมชอบแบบนี้และแบบนี้’ ผมต้องรู้สิ่งที่เขาร้องขอ และองค์ประกอบสำคัญที่เขาต้องการทุกวัน”

แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่เขายึดถือเป็นแนวทางในการทำงาน คือการแบ่งหน้าที่กันทำอย่างชัดเจน และไม่ก้าวก่ายงานของโค้ช ซึ่งเป็นสิ่งที่ มอนชิ ผู้เปรียบเสมือนอาจารย์ของเขาเคยสอนเอาไว้ 


Photo : www.theguardian.com

“อย่าถาม 11 ตัวจริงโค้ช และอย่าแนะนำอะไรโค้ช จนกว่าเขาจะถาม” ผู้อำนวยการกีฬาชาวสเปนอธิบายกับ The Athletic 

ทำให้ ออร์ตา จะพยายามไม่เซ็นสัญญานักเตะที่เฮดโค้ชไม่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานกับ บิเอลซา ที่เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ และชอบนักเตะที่เล่นได้หลายตำแหน่ง จนทำให้มีขนาดทีมที่ค่อนข้างเล็กกว่าทีมอื่นมาตั้งแต่สมัยเล่นในแชมเปียนชิพ 

“เราไม่เคยกำหนด 11 ตัวจริง เราไม่เคยแสดงความเห็นเกี่ยวกับการซ้อม เราคือตัวเชื่อมระหว่างเฮดโค้ชและประธานสโมสร และคอยดูอคาเดมี สรรหานักเตะ ต่อสัญญาผู้เล่น พยายามผลักดันทุกคนไปด้วยกัน ทั้งเฮดโค้ช บอร์ดบริหาร ประธาน และผู้บริหารสูงสุด” ออร์ตาอธิบายกับ Tranning Ground Guru 

“แน่นอนว่าการสรรหาเป็นสิ่งสำคัญ แต่มันมากกว่านั้น เราเลือกเฮดโค้ช วางแผนเกี่ยวกับอนาเดมี และวางแผนการสืบทอดตำแหน่ง ผมรู้ว่าผู้จัดการทีมคือตำแหน่งที่สำคัญมากสำหรับฟุตบอลอังกฤษในอดีต แต่เราก็พยายามเกื้อหนุนเฮดโค้ช มันคือเป้าหมายประจำวันของเรา” 

แต่นั่นไม่ใช่ปรัชญาในการทำงานเดียวของ ออร์ตา

ลงทุน ไม่ใช่ ทุ่มทุน 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยที่ทำให้ เซบียา ประสบความสำเร็จในตลาดซื้อขายตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา แถมยังมีโทรฟีติดมือ มาจากสองนโยบายสำคัญของพวกเขา นั่นก็คือการสร้างระบบเยาวชนให้แข็งแกร่ง และการทุ่มงบประมาณไปกับการสร้างเครือข่ายแมวมอง 


Photo : www.skysports.com

มันได้กลายเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้ทีมดังแห่งแคว้นอันดาลูเซีย มีนักเตะฝีเท้าดีใช้งานอย่างไม่ขาดสาย ทั้งนักเตะท้องถิ่นฝีเท้าดี และนักเตะดาวรุ่งต่างชาติฝีเท้าเยี่ยม ซึ่ง เฆซุซ นาบาส, เซร์คิโอ รามอส รวมไปถึง ดาเนียล อัลเวส ก็คือตัวอย่างชั้นดี 

แน่นอนว่าแนวคิดดังกล่าวได้ส่งอิทธิพลมายัง ออร์ตา ทำให้นอกจากเขาจะดึงนักเตะฝีเท้าดีราคาเหมาะสมมาร่วมทีมแล้ว ผู้อำนวยการกีฬาชาวสเปน ยังทุ่มงบประมาณไปกับการพัฒนาอคาเดมี และสร้างเครือข่ายแมวมอง 

“ที่ เซบียา เมื่อวิเคราะห์ความสำเร็จของพวกเรา ผมพูดเหมือนเดิมเสมอว่า เพราะอคาเดมีที่ยอดเยี่ยมของเรา และนักเตะดาวรุ่งจากต่างประเทศ” ออร์ตากล่าว 

“มันยังคงเป็นแนวคิดของผมในตอนนี้ และผมก็อยากทิ้งปรัชญานี้เอาไว้ นั่นคืออคาเดมี และนักเตะดาวรุ่งจากต่างประเทศ” 

อันที่จริงศูนย์ฝึกเยาวชน ธอร์ป อาร์ค ในอดีต ก็ขึ้นชื่อในฐานะแหล่งปลุกปั้นนักเตะดาวรุ่งฝีเท้าดีมาประดับวงการ ไม่ว่าจะเป็น แฮร์รี คีเวลล์, อลัน สมิธ, พอล โรบินสัน, เจมส์ มิลเนอร์ มาจนถึงยุคปัจจุบัน อย่าง คัลวิน ฟิลลิปส์ 

“ผมนับถืออคาเดมีของที่นี่มาก ถ้าคุณดูดาวรุ่งจากอคาเดมีนี้ คุณจะเห็นว่ามันยอดเยี่ยมมาก สำหรับผมมันเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลิตนักเตะจากอคาเดมี เพราะว่าสโมสรนี้มีประวัติศาสตร์ และผมก็นับถือในสิ่งนี้” ออร์ตา ชื่นชม

แต่สำหรับ ออร์ตา แค่นักเตะท้องถิ่นมันยังไม่พอ เขาได้นำปรัชญาจาก เซบียา มาใช้ ด้วยการเฟ้นหานักเตะอายุน้อยฝีเท้าดีมาเสริมในทีมเยาวชนอยู่เสมอ 


Photo : www.the42.ie

ตัวอย่างเช่นการดึงตัว โจ เกลฮาร์ดท์ แข้งวัย 18 ปีมาจาก วีแกน แอธเลติก หรือ แซม กรีนวูด ที่อยู่ในวัยเดียวกันจากอาร์เซนอล หรือการคว้าตัว เอียน โพเวดา (ที่ตอนนี้อยู่ใน 16 ผู้เล่นของบิเอลซา) มาจาก แมนเชสเตอร์ ซิตี้ เมื่อฤดูกาล 2019-20 

มันคือการลงทุนเพื่ออนาคต และทำให้ทีมสำรองของ ลีดส์ มีขุมกำลังชั้นเยี่ยม ที่รอวันจะเบียดขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่ ซึ่งพิสูจน์ได้จากการนำเป็นจ่าฝูงของพรีเมียร์ลีก 2 ดิวิชั่น 2 อยู่ในขณะนี้

แต่นอกจากนั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เขายึดถือมาตลอด …

เรียนรู้จากความผิดพลาด 

แม้ว่า ออร์ตา จะสามารถทำให้ดีลที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เป็นจริง อย่างการพา บิเอลซา มา ลีดส์ หรือการเซ็นนักเตะได้เข้าเป้า อย่างกรณีของ แพทริค แบมฟอร์ด ที่ได้มาจาก โบโร ด้วยค่าตัวไม่สูงมาก แต่ก็มีดีลจำนวนไม่น้อยที่ลงเอยด้วยความล้มเหลว หรือผิดพลาด 

ไม่ว่าจะเป็น เคสของ บิคตอร์ บัลเดส, แกสตัน รามิเรซ หรือ วิคเตอร์ ฟิชเชอร์ ที่ไปไม่รอดกับ โบโร หรือ ฌอง เควิน ออกุสแตง ที่ดึงตัวมาจาก แอร์เบ ไลป์ซิก แต่ทำได้เพียงแค่ตบยุงข้างสนามในยุคของ บิเอลซา รวมไปถึงดีลของ แดเนียล เจมส์ ที่เรียกว่าจ่อมากที่สุด เพราะนักเตะถ่ายรูปชูเสื้อแล้ว แต่กลับถูกล้มดีลในวินาทีสุดท้ายก่อนตลาดปิด ก่อนที่นักเตะจะย้ายไปอยู่กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด อริตัวกลั่นในเวลาต่อมา


Photo : www.marca.com

แน่อนว่า ออร์ตา ก็รับรู้ในความผิดพลาดเหล่านี้ เขายืนยันว่าเขาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่สิ่งที่ทำให้เขาก้าวผ่านมันได้ คือการยอมรับในความผิดพลาด และใช้มันเป็นบทเรียนสอนใจ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยอีก 

“ผมเคยโดนวิจารณ์เรื่องการซื้อตัว และบางอย่างผมก็อธิบายไม่ได้ จริงอยู่ผมทำพลาดในปีแรก แต่ทุกทีมก็มีข้อผิดพลาด ไม่มีใครทำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ในเรื่องการซื้อตัว เป็นเรื่องปกติ เซ็นมา 5 ตัว 3 ดี 2 แย่ มันเป็นเช่นนี้เสมอกับทีมทุกทีม” ออร์ตา กล่าวกับ Tranning Ground Guru 

“แม้กระทั่ง มอนชิ อาจารย์ของผมที่เซบียา เขาก็ยังเจอนักเตะที่เล่นไม่ดี เพราะว่าผู้เล่นก็คือมนุษย์ พวกเขามีอะไรมากมายที่ต้องทำให้ถูกต้อง หากจะประสบความสำเร็จ”  

หนึ่งในเรื่องที่เขาจำฝังใจมากที่สุด คือเคสของ ฮาร์วีย์ บาร์นส์ เมื่อปี 2018 ตอนนั้น ลีดส์ ได้บรรลุข้อตกลงยืมตัวกับ เลสเตอร์ ซิตี้ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในขณะที่ บาร์นส์ ได้ผ่านการตรวจร่างกาย เลือกเบอร์เสื้อ แถมยังคุยกับ ออร์ตา เป็นการส่วนตัว ว่าจะย้ายมาเล่นในถิ่น เอลแลนด์ โรด อย่างแน่นอน 

“แล้วเจอกันวันจันทร์” คือคำสุดท้ายที่ ออร์ตา ได้คุยกับกองกลางจอมเทคนิค แต่เมื่อวันนัดหมายมาถึง โทรศัพท์มือถือของ ออร์ตา ดังขึ้น พร้อมกับเสียงปลายสายที่บอกว่า บาร์นส์ ย้ายไปเล่นให้กับ เวสต์บรอมวิช อัลเบียน ด้วยสัญญายืมตัว 

ทันใดนั้นก็เกิดเสียง เปรี้ยง ! ในห้องทำงานของ ออร์ตา … มันคือเสียงของมือถือที่บินไปกระทบผนังด้วยความเร็ว ที่มาจากมือของ ออร์ตา ความแรงของมันก่อให้เกิดรอยบนกำแพงอย่างชัดเจน 

ว่ากันว่า ออร์ตา สั่งไม่ให้ซ่อมรอยนี้ แถมยังแปะกระดาษโพสต์อิทไว้ข้าง ๆ พร้อมกับเขียนข้อความว่า “ฮาร์วีย์ บาร์นส์” มันคือสิ่งที่เขาเอาไว้เตือนตนเองว่า คงจะไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าเรื่องนี้อีกแล้ว 


Photo : www.leeds-live.co.uk

อย่างไรก็ดี ชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน แม้จะพยายามมากแค่ไหน แต่ความผิดพลาดมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเจรจาซื้อตัว หรือแม้กระทั่งการซื้อตัวนักเตะ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือเคสของ แดเนียล เจมส์ ที่เกิดขึ้นหลังเรื่องของ บาร์นส์ เพียงแค่ 6 เดือน

“นี่คือชีวิต ผมยอมรับทุกความผิดพลาดที่ผมทำ เพราะว่าผมอยากเรียนรู้จากมัน” ออร์ตา เปิดเผยกับ The Athletic

สิ่งสำคัญที่สุด คือการยอมรับมัน มันอาจจะรู้สึกแย่บ้าง แต่มันก็ทำให้เรียนรู้ ดังนั้นเมื่อความผิดพลาดเกิดขึ้น จงพยายามค้นหาสาเหตุของมัน และจำไว้ให้ดี 

“ในบางสถานการณ์ เราก็ทำได้ดี อย่าง เบน ไวท์ ที่ไม่ได้เล่นในแชมเปียนชิพเลยแม้แต่เกมเดียว แต่ก็ขึ้นมาเป็นหนึ่งในกองหลังที่ดีที่สุดในประเทศ” ออร์ตากล่าวกับ Tranning Ground Guru 

“คุณต้องยอมรับในกระบวนการ และไม่ทวงถามเครดิต ด้วยการพูดว่า ‘ผมเป็นคนเซ็น เบน ไวท์มานะ’ คุณต้องมั่นคง ดังนั้นเมื่อคุณล้มเหลว พยายามให้รู้ว่าเพราะอะไร” 

“อย่าเชื่อว่าคุณเก่งที่สุด คิดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ” 


Photo : theathletic.co.uk

ปัจจุบัน ออร์ตา ยังคงทำงานอย่างหนักกับ ลีดส์ และเป็นหนึ่งในทีมงานคนสำคัญของ บิเอลซา เขาบอกว่าจะพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อการช่วยเหลือเกื้อกูลเฮดโค้ชให้มากที่สุด 

เพื่อให้คนอังกฤษ เห็นความสำคัญของตำแหน่งนี้มากขึ้น และไม่ถูกมองว่าผู้อำนวยการกีฬาไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น เหมือนที่เคยเป็นมา 

“บางคนคิดว่าตำแหน่งของผมเหมือนกับเกม Football Manager ผมเองก็เล่น FM เหมือนกันนะ แต่ความเป็นจริง มันต่างกันมาก” ออร์ตา ทิ้งท้าย 

แทงบอลออนไลน์

วิเคราะห์บอลล่าสุด

ข่าวล่าสุด